รู้จักดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู)
เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ
จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3. ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos
ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ Uranus symbol.ant.png หรือ
สัญลักษณ์ดาราศาสตร์ดาวยูเรนัส (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ
ดาวมฤตยู
ยูเรนัส (Uranus) ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเลี่ยม
เฮอส์เชล ในปี พ.ศ.2534 สองร้อยปีต่อมา
ยานวอยเอเจอร์ 2 ทำการสำรวจดาวยูเรนัสในปี พ.ศ. 2529 พบว่า
บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83%, ฮีเลียม
15% และมีเทน 2%
ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากแก๊สมีเทนดูดกลืนสีแดงและสะท้อนสีน้ำเงิน
บรรยากาศมีลมพัดแรงมาก ลึกลงไปที่แก่นของดาวห่อหุ้มด้วยโลหะไฮโดรเจนเหลว ขณะที่ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีแกนหมุนรอบตัวเองเกือบตั้งฉากกับระนาบสุริยวิถี
แต่แกนของดาวยูเรนัสวางตัวเกือบขนานกับสุริยวิถี
ดังนั้นอุณหภูมิบริเวณขั้วดาวจึงสูงกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร
ดาวยูเรนัสมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงอื่นๆ
วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความสว่างไม่มาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก
มีขนาดตั้งแต่ฝุ่นผงจนถึง 10 เมตร
ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 27 ดวง
ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม ได้แก่ มิรันดา แอเรียล อัมเบรียล
ไททาเนีย และ โอเบรอน
ลักษณะดาว
ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นได้มากนักบนดาวยูเรนัส
แต่นักดาราศาสตร์ได้พบสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
คือดาวยูเรนัสจะเอียงข้าง แกนของมันจะเอียงเพื่อว่าขั้วของมันจะตั้งเกือบอยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของดาวยูเรนัส
ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่มีลักษณะดังกล่าว
เหตุผลที่ดาวยูเรนัสมีการเอียงมากอาจเห็นเพราะว่าครั้งหนึ่งเคยถูกกระแทกโดยดาวเคราะห์น้อย
ในขณะที่ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ ขั่งข้างหนึ่งจะชี้ไปทางดวงอาทิตย์
ขั้วที่ชี้ไปทางดวงอาทิตย์จะเห็นแสงสว่างของเวลากลางวันเป็นเวลา 22 ปี
แล้วด้านนี้จะหมุนไปด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อยู่ในความมืดอีก 22 ปี
ยานวอยาเจอร์พบว่าขั้วมืดจะอบอุ่นกว่าขั้วที่มีแสงสว่างเล็กน้อยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด
วงแหวนและดาวบริวารของดาวยูเรนัส
วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์
ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น
วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดยหอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977
ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมาตรงข้ามหน้าของมัน
ยานวอยาเจอร์ 2 มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส
วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ
วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยก้อนฝุ่น
ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์
วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว
น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง
ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่นที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน
ดาวบริวารที่ประหลาด
ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคยพบมาก่อน
ทั้งหมดหมุนรอบๆระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา
มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อนแล้ว
ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน
เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัสมีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ
ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊ซแข็ง
มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียวกัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์
นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา
ชิ้นส่วนเหล่านี้กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน
การสำรวจและค้นพบ
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม
เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977)
นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W.
Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า
ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด
ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
ข้อมูลสำคัญ
ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 2,870
ล้านกิโลเมตร
คาบวงโคจร 80
ปี
ความรีของวงโคจร 0.047
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 0.77°
แกนเอียง 97.86°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 17.24
ชั่วโมง
รัศมีของดาว 25,559
กิโลเมตร
มวล 14.371
ของโลก
ความหนาแน่น 1.32
กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
แรงโน้มถ่วง 8.43
เมตร/วินาที2
องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
อุณหภูมิ
-216°C
ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 27
ดวง
วงแหวนที่ค้นพบแล้ว 13 วง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น