รู้จักดาวอังคาร
ดาวอังคาร
เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร
(Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน
หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก
เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า
"ดาวแดง" หรือ "Red
Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า)
ชื่อจีน เป็น 火星 ความหมายว่าดาวไฟเพราะสีส้มของมัน
สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส
ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส
โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม และมีขนาดเล็กกว่า 25 กิโลเมตร ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน ดาวอังคาร
(Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่
4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด
ดาวอังคารมี และเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับ
6
ลักษณะของดาว
ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5
เท่าของโลก ดาวอังคารมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแก่นของแข็งมีรัศมีประมาณ
1,700 กิโลเมตร
ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินหนืดหนาประมาณ 1,600
กิโลเมตร และมีเปลือกแข็งเช่นเดียวกับโลก
ดาวอังคารมีสีแดงเนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก
(สนิมเหล็ก)
พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย
ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า
มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตยสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา
โดยมีความกว้าง 8,500
กิโลเมตร ยาว 10,600
กิโลเมตร นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล
ดาวอังคารมีบรรยากาศเบาบางมาก
ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง
(คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคาร ที่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวมีน้ำแข็ง (Ice
water) ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้แต่งนิยายวิทยาศาสตร์ในหลายสิบปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่มีการสังเกตดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์
และพบรูปร่างพื้นผิวที่คล้ายกับคลองส่งน้ำของมนุษย์ดาวอังคาร
(ถ้ามีสิ่งมีชีวิตอยู่จริงบนดาวอังคาร) แต่หลังจากที่องค์การนาซาได้ส่งยานไปสำรวจดาวอังคารอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เราทราบว่า ลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงร่องรอยที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพื้นผิวดาวอังคารโดยยานไวกิงออร์บิเตอร์ 1 และยานมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์พบร่องรอยท้องแม่น้ำที่เหือดแห้ง
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเคยมีสิ่งมีชิวิตอยู่บนดาวอังคารมาก่อน
ก็น่าจะมีซากหรือฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นใต้ท้องน้ำหรือใต้น้ำแข็งที่ขั้วทั้งสองของดาวอังคาร
โดยภาพรวมนั้นดาวอังคารมีขนาดที่เล็กกว่าโลก
คือมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับรัศมีของโลกและมีน้ำหนักเทียบได้กับ 11%
ของโลก ปริมาตร 15% ของโลก
พื้นที่ผิวทั้งหมดของดาวอังคารยังน้อยว่าพื้นที่ที่เป็นพื้นดินของโลกเสียอีก ส่วนสีของดาวที่เห็นเป็นสีส้ม-แดงนั้น เกิดจาก
ไอร์ออนออกไซด์ ซึ่งเป็นที่รู้กันคือ แร่เหล็ก หรือสนิมเหล็กนั่นเอง
เราสามารถมองเห็นดาวอังคารได้หรือไม่
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ระหว่าง -2.0 – 2.0
มีเพียงแค่ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่สว่างกว่า (ดาวพฤหัสในบางครั้ง)
ข้อมูลสำคัญ
ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 227.94
ล้านกิโลเมตร
คาบวงโคจร 1.88 ปี
(687 วัน)
ความรีของวงโคจร 0.0934
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 1.8°
แกนเอียง 25.19°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24.62
วัน
รัศมีของดาว 3,397
กิโลเมตร
มวล 0.107
ของโลก
ความหนาแน่น 0.714
ของโลก
แรงโน้มถ่วง 0.38
ของโลก
องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์
ไนโตรเจน อาร์กอน
อุณหภูมิ
-87°C ถึง -5°C
มีดวงจันทร์ 2
ดวง ไม่มีวงแหวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น