รู้จักโลก
เมื่อประมาณ 4,600
ล้านปีมาแล้ว กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้ ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา”
(Solar แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่า
หมอกเพลิง) แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจาน
ใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น
กลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า
รวมตัวเป็นกลุ่มๆ มีมวลสารและความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆ
และกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด
โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน
ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น เหล็ก
และนิเกิล จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา เช่น ซิลิกอน
ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก ก๊าซต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิว
ก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ
ส่วนหนึ่งหลุดหนีออกสู่อวกาศ อีกส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ
เมื่อโลกเย็นลง เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว
เกิดทะเลและมหาสมุทร สองพันล้านปีต่อมาการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ได้นำคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างพลังงาน
และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจน ก๊าซออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน
แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต
ทำให้สิ่งมีชีวิตมากขึ้น และปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นอีก
ออกซิเจนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกในเวลาต่อมา
ลักษณะของโลก
โครงสร้างภายในของโลก
โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378
กิโลเมตร) มีมวลสาร 6 x 10^24 กิโลกรัม และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 5,520
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 5,520
เท่า) นักธรณีวิทยาทำการศึกษาโครงสร้างภายในของโลก โดยศึกษาการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค”
(Seismic waves) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง
โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป
คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ
6 – 8 กิโลเมตร/วินาที
คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน ดังภาพที่ 3
คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง
โดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน
มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น
ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4
กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง
โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี
นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 3
ส่วน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้
เปลือกโลก (Crust) เป็นผิวโลกชั้นนอก
มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกอนไดออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์
แมนเทิล (Mantle) คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก
2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์
แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์
แก่นโลก (Core) คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก
มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล
โลกแบ่งออกเป็น 7 ทวีป
6.ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,987,900 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 14,000,000 คน
จุดที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาคอสเซียสโค มีความสุงประมาณ 7,374
ฟุต แบ่งออกเป็น 14 ประเทศ
1.ทวีปเอเชีย เป็นทวีปที่มีพื้นที่มากที่สุด
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17,128,500 ตารางไมล์
เป็นทวีปทีมีประชากรมากที่สุดในโลก คือมีประมาณ 2,300,000 คน
ยอดเขาเอเวอร์เร็สต์เป็นยดเขาที่สูงที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 48 ประเทศ
2.ทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,707,000
ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 380,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ
เทือกเขาคิลิมานจาโร สูงประมาณ 19,340 ฟุต อยู่ในประเทศแทนซาเนีย แบ่งออกเป็น 53 ประเทศ
3.ทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 9,363,000
ตารางไมลื มีประชากรอาศัยอยู๋ประมาณ 340,000,000 คน
จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาแมคดินเลย์ สูงประมาณ 20,320
ฟุต อยู่ในรัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็น 22 ประเทศ
4.ทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,885,700
ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 210,00,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ
ยอดเขาอะคอนดากัว สูงประมาณ 23,034 ฟุต อยู่ระหว่าง
ประเทศซิลีกับอาร์เจนตินา แบ่งออกเป็น 13 ประเทศ
5.ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,056,000
ตารางไมล์มีประชากรประมาณ 660,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ
ยอดเขามองต์ปลัง สุงประมาณ 15,781 ฟุต อยู่ในประเทศฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 43 ประเทศ
7.ทวีปแอนตาร์กติก มีพื้นที่ประมาณ
6,000,000 ตารางไมล์ เป็นทวีปที่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่เลย
ตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกใต้
เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6
แผ่นดังนี้
แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป
และพื้นน้ำ บริเวณใกล้เคียง
แผ่นอเมริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือและอออเมริกาใต้
แล พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
แผ่นแปซิฟิก
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
แผ่นออสเตรเลีย
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลียและประเทศอินเดีย
และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศจีน
แผ่นแอนตาร์กติก
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติก
แและพื้นน้ำโดยรอบ
แผ่นแอฟริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา
และพื้นน้ำรอบๆ ทวีปแอฟริกา
ข้อมูลสำคัญ
โลกใหญ่เป็นอันดับ 6
มีอายุประมาณ 4700 ล้านปี
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 149,600,000 ก.ม.
โคจรรรอบดวงอาทิตย์ 365.25 วัน
หมุนรอบตัวเอง 24 ช.ม.
ความเร็วในการหมุน 1,674.4 ก.ม. / ช.ม.
ความโน้มถ่วง 9.807 เมตร/วินาที
ความหนาแน่น 5.514
มวล 5.972
โลกมีพื้นที่ทั้งหมด 149,000,000 ตร.กม.
โลกมีพื้นที่ทั้งหมด 149,000,000 ตร.กม.
โลกของเรามีประเทศทั้งหมด 193 ประเทศ
เกร็ดความรู้
หนึ่งปีบนโลกตามปฏิทินสุริยคติ
มีระยะเวลาทั้งหมด 365 วัน โดยที่โลกหมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365
วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที[1]
หรือ 365.2524 วัน ส่งผลต่อการนับจำนวนวันให้ทุก ๆ 4
ปีจะมีวันเพิ่มขึ้นหนึ่งวันเป็น 366 วัน
เพื่อทดแทนระยะเวลาที่ไม่พอดีวันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกปีที่มี 366 วันว่า
ปีอธิกสุรทิน วันที่เพิ่มขึ้นมาจะถูกเพิ่มลงในเดือนกุมภาพันธ์จาก 28 วัน
เป็น 29 วัน ในทุก ๆ 4 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น