วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โลก (Earth,World)

รู้จักโลก


เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้ ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า โซลาร์เนบิวลา” (Solar แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่า หมอกเพลิง) แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจาน ใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น กลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า รวมตัวเป็นกลุ่มๆ มีมวลสารและความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆ และกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด


โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น เหล็ก และนิเกิล จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา เช่น ซิลิกอน ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก ก๊าซต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิว ก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ ส่วนหนึ่งหลุดหนีออกสู่อวกาศ อีกส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ เมื่อโลกเย็นลง เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว เกิดทะเลและมหาสมุทร สองพันล้านปีต่อมาการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้นำคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างพลังงาน และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจน ก๊าซออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต ทำให้สิ่งมีชีวิตมากขึ้น และปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นอีก ออกซิเจนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกในเวลาต่อมา


ลักษณะของโลก


โครงสร้างภายในของโลก
          โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378 กิโลเมตร) มีมวลสาร 6 x 10^24 กิโลกรัม และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 5,520 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 5,520 เท่า) นักธรณีวิทยาทำการศึกษาโครงสร้างภายในของโลก โดยศึกษาการเดินทางของ คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
        คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 68 กิโลเมตร/วินาที คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน ดังภาพที่ 3

         คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 4 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง
โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี
          นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 3 ส่วน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้       
         เปลือกโลก (Crust) เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกอนไดออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์
         แมนเทิล (Mantle) คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์
         แก่นโลก (Core) คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล




โลกแบ่งออกเป็น 7 ทวีป
1.ทวีปเอเชีย    เป็นทวีปที่มีพื้นที่มากที่สุด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17,128,500 ตารางไมล์ เป็นทวีปทีมีประชากรมากที่สุดในโลก คือมีประมาณ 2,300,000 คน ยอดเขาเอเวอร์เร็สต์เป็นยดเขาที่สูงที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 48 ประเทศ

2.ทวีปแอฟริกา    มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,707,000 ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 380,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ เทือกเขาคิลิมานจาโร สูงประมาณ 19,340 ฟุต อยู่ในประเทศแทนซาเนีย แบ่งออกเป็น 53 ประเทศ

3.ทวีปอเมริกาเหนือ  มีพื้นที่ประมาณ 9,363,000 ตารางไมลื มีประชากรอาศัยอยู๋ประมาณ 340,000,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาแมคดินเลย์ สูงประมาณ 20,320 ฟุต อยู่ในรัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็น 22 ประเทศ

4.ทวีปอเมริกาใต้   มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,885,700 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 210,00,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาอะคอนดากัว สูงประมาณ 23,034 ฟุต อยู่ระหว่าง ประเทศซิลีกับอาร์เจนตินา แบ่งออกเป็น 13 ประเทศ

5.ทวีปยุโรป  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,056,000 ตารางไมล์มีประชากรประมาณ 660,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ ยอดเขามองต์ปลัง สุงประมาณ 15,781 ฟุต อยู่ในประเทศฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 43 ประเทศ

 6.ทวีปออสเตรเลีย   เป็นทวีปที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,987,900 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 14,000,000 คน จุดที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาคอสเซียสโค มีความสุงประมาณ 7,374 ฟุต แบ่งออกเป็น 14 ประเทศ


7.ทวีปแอนตาร์กติก มีพื้นที่ประมาณ 6,000,000 ตารางไมล์ เป็นทวีปที่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่เลย ตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ 
เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่นดังนี้
 แผ่นยูเรเซีย   เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำ บริเวณใกล้เคียง
 แผ่นอเมริกา  เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือและอออเมริกาใต้ แล พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
 แผ่นแปซิฟิก  เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
 แผ่นออสเตรเลีย  เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลียและประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศจีน
 แผ่นแอนตาร์กติก  เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติก แและพื้นน้ำโดยรอบ
 แผ่นแอฟริกา   เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีปแอฟริกา

ข้อมูลสำคัญ

โลกใหญ่เป็นอันดับ 6
มีอายุประมาณ 4700 ล้านปี
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 149,600,000 ก.ม.
โคจรรรอบดวงอาทิตย์ 365.25 วัน
หมุนรอบตัวเอง 24 ช.ม.
ความเร็วในการหมุน 1,674.4 ก.ม. / ช.ม.
ความโน้มถ่วง 9.807 เมตร/วินาที
ความหนาแน่น 5.514 
มวล 5.972
โลกมีพื้นที่ทั้งหมด 149,000,000 ตร.กม.
โลกของเรามีประเทศทั้งหมด 193 ประเทศ

เกร็ดความรู้

หนึ่งปีบนโลกตามปฏิทินสุริยคติ มีระยะเวลาทั้งหมด 365 วัน โดยที่โลกหมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที[1] หรือ 365.2524 วัน ส่งผลต่อการนับจำนวนวันให้ทุก ๆ 4 ปีจะมีวันเพิ่มขึ้นหนึ่งวันเป็น 366 วัน เพื่อทดแทนระยะเวลาที่ไม่พอดีวันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกปีที่มี 366 วันว่า ปีอธิกสุรทิน วันที่เพิ่มขึ้นมาจะถูกเพิ่มลงในเดือนกุมภาพันธ์จาก 28 วัน เป็น 29 วัน ในทุก ๆ 4 ปี

ดาวศุกร์ (Venus)

รู้จักดาวศุกร์



ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224.70 วัน โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน เนื่องจาก เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อมองจากโลก และสังเกตเห็นได้ง่าย แม้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ดาวดวงนี้ จะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากก็ตาม แต่ครั้งหนี่ง นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า ดาวศุกร์ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ 

ลักษณะของดาว



        ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์นั้นมีความหนาแน่นมาก ความกดอากาศบนพื้นผิวดาวศุกร์สูงกว่าความกดอากาศบนพื้นผิวโลก 90 เท่า หรือมีค่าเท่ากับความดันที่ใต้ทะเลลึก 1 กิโลเมตร  บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ และมีชั้นเมฆอยู่หลายชั้นที่ประกอบไปด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (กรดกำมะถัน) ซึ่งมีความหนาหลายกิโลเมตร ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวดาวศุกร์  ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 470°C  จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่าก็ตาม

ยานลำแรกที่สำรวจดาวศุกร์




ยานอวกาศลำแรกที่ถ่ายภาพเมฆดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศของสหรัฐอเมริกา ชื่อยานมารีเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ยานอวกาศลำแรกที่ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศเวเนรา 9 ของรัสเซีย ซึ่งลงสัมผัสพื้นผิวของดาวศุกร์เมื่อ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ต่อมามียานอวกาศไปสำรวจดาวศุกร์อีกหลายลำ ลำล่าสุดที่ถ่ายภาพโดยอาศัยระบบเรดาร์ คือยานแมกเจลแลน เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534



เราสามารถเห็นดาวศุกร์ได้หรือไม่?
เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ 45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า "ดาวประจำเมือง" และด้านทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า "ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน

ข้อมูลสำคัญ (แบบสรุป)

ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 108.21 ล้านกิโลเมตร
คาบวงโคจร 224.70 วัน
ความรีของวงโคจร 0.0068
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 3.39°
แกนเอียง 177.3°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243.02 วัน (หมุนย้อนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น)
รัศมีของดาว 6,052 กิโลเมตร
มวล 0.815 ของโลก
ความหนาแน่น 0.95 ของโลก
แรงโน้มถ่วง 0.91 ของโลก
องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์
อุณหภูมิพื้นผิว  470°C
ไม่มีดวงจันทร์​ ไม่มีวงแหวน

ดวาพุธ (Mercury)


รู้จักดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.97 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร โครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตรดาวพุธ ดาวเคราะห์ชั้นในสุด มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบจะกลม (ค่า Ecc) และมีคาบการโคจร รอบดวงอาทิตย์ ที่สั้นที่สุด จึงทำให้ดาวพุธเคลื่อนที่บนท้องฟ้าเร็วมาก ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด


ลักษณะของดาว



ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระ พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมายคล้ายกับพื้นผิวดวงจันทร์ มีเทือกเขาสูงใหญ่และแอ่งที่ราบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป แอ่งที่ราบแคลอริสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,300 กิโลเมตร นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า แอ่งที่ราบขนาดใหญ่เช่นนี้เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารบริวาร ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1965 นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เท่ากับเวลาที่ใช้ใน การหมุน รอบตัวเอง นั่นหมายถึงว่า ดาวพุธจะหันด้านเดียวในการรับแสง จากดวงอาทิตย์ตลอดเวลา และไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 0.054


ยานดวงแรกที่สำรวจดาวพุธ



  ในปี พ.ศ.2517 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานมารีเนอร์ 10 ไปสำรวจและทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก จึงสามารถทำแผนที่ได้เพียงร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด  ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercuries เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน


เราสามารถเห็นดาวพุธได้หรือไม่?

เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ด้วยตาเปล่า หรือให้กล้องส่องทางไกลการสังเกตดาวพุธ เราสามารถเห็นดาวพุธได้เป็นบางช่วง หากดาวพุธไม่โคจรมาอยู่หน้าดวงอาทิตย์หรือหลัง ดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางซีกตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกไปเล็กน้อย และทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เล็กน้อย อยู่สูงจากขอบฟ้าไม่เกิน 25 องศา และเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 20 นาที ก็จะลับขอบฟ้าไปหรือ แสงอาทิตย์ขึ้นมาบัง 


 ข้อมูลสำคัญ​ (แบบสรุป)

ระยะทางเฉลี่ยห่างจากดวงอาทิตย์  58  ล้านกิโลเมตร
ห่างจากโลกของเราประมาณ 15 กิโลเมตร
คาบวงโคจร 87.97 วัน หรือ 88 วัน
1 วันบนดาวพุธจะยาวถึง 176 วันของโลก
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: 10.892 กม./ชม.
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 7° 
แกนเอียง 0°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 58.65 วัน 
รัศมีของดาว 2,440 กิโลเมตร
มวล 0.055 ของโลก
ความหนาแน่น 0.98 ของโลก 
แรงโน้มถ่วง 0.38 ของโลก
องค์ประกอบของบรรยากาศที่เบาบางมาก ไฮโดรเจน, ฮีเลียม, โซเเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม
อุณหภูมิ  -180°C ถึง 430°C
ไม่มีดวงจันทร์  ไม่มีวงแหวน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวเคราะห์ เรียกเป็นภาษากรีก: πλανήτης ภาษาอังกฤษ planetes หรือแปลว่า "ผู้พเนจร" คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวกฤษ ก่อนคริสทศัตวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบคือ โคจรรอบดาวฤกษ์(วัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง) ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์

ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุทธและดาวศุกร์ และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรษ

ดาวเคราะห์ในระบบวงแหวน

การเรียงลำดับดาวเคราะห์


นิยามของดาวเคราะห์

 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์ ที่กรุงปราก สาธารนรัฐเชก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวกฤษ และไม่ใช่ดาวบริวาร (วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง)
มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม
มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต() และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (ดาวเคราะห์แคระเป็นดาวที่มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์หรือดาวเคราะห์น้อยโดยจะต้องเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่เป็นทรงกลม) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558