วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวเคราะห์ เรียกเป็นภาษากรีก: πλανήτης ภาษาอังกฤษ planetes หรือแปลว่า "ผู้พเนจร" คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวกฤษ ก่อนคริสทศัตวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบคือ โคจรรอบดาวฤกษ์(วัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง) ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์

ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุทธและดาวศุกร์ และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรษ

ดาวเคราะห์ในระบบวงแหวน

การเรียงลำดับดาวเคราะห์


นิยามของดาวเคราะห์

 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์ ที่กรุงปราก สาธารนรัฐเชก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวกฤษ และไม่ใช่ดาวบริวาร (วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง)
มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม
มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต() และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (ดาวเคราะห์แคระเป็นดาวที่มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์หรือดาวเคราะห์น้อยโดยจะต้องเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่เป็นทรงกลม) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น