วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดวาพุธ (Mercury)


รู้จักดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.97 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร โครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตรดาวพุธ ดาวเคราะห์ชั้นในสุด มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบจะกลม (ค่า Ecc) และมีคาบการโคจร รอบดวงอาทิตย์ ที่สั้นที่สุด จึงทำให้ดาวพุธเคลื่อนที่บนท้องฟ้าเร็วมาก ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด


ลักษณะของดาว



ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระ พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมายคล้ายกับพื้นผิวดวงจันทร์ มีเทือกเขาสูงใหญ่และแอ่งที่ราบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป แอ่งที่ราบแคลอริสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,300 กิโลเมตร นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า แอ่งที่ราบขนาดใหญ่เช่นนี้เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารบริวาร ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1965 นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เท่ากับเวลาที่ใช้ใน การหมุน รอบตัวเอง นั่นหมายถึงว่า ดาวพุธจะหันด้านเดียวในการรับแสง จากดวงอาทิตย์ตลอดเวลา และไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 0.054


ยานดวงแรกที่สำรวจดาวพุธ



  ในปี พ.ศ.2517 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานมารีเนอร์ 10 ไปสำรวจและทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก จึงสามารถทำแผนที่ได้เพียงร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด  ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercuries เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน


เราสามารถเห็นดาวพุธได้หรือไม่?

เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ด้วยตาเปล่า หรือให้กล้องส่องทางไกลการสังเกตดาวพุธ เราสามารถเห็นดาวพุธได้เป็นบางช่วง หากดาวพุธไม่โคจรมาอยู่หน้าดวงอาทิตย์หรือหลัง ดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางซีกตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกไปเล็กน้อย และทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เล็กน้อย อยู่สูงจากขอบฟ้าไม่เกิน 25 องศา และเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 20 นาที ก็จะลับขอบฟ้าไปหรือ แสงอาทิตย์ขึ้นมาบัง 


 ข้อมูลสำคัญ​ (แบบสรุป)

ระยะทางเฉลี่ยห่างจากดวงอาทิตย์  58  ล้านกิโลเมตร
ห่างจากโลกของเราประมาณ 15 กิโลเมตร
คาบวงโคจร 87.97 วัน หรือ 88 วัน
1 วันบนดาวพุธจะยาวถึง 176 วันของโลก
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง: 10.892 กม./ชม.
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 7° 
แกนเอียง 0°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 58.65 วัน 
รัศมีของดาว 2,440 กิโลเมตร
มวล 0.055 ของโลก
ความหนาแน่น 0.98 ของโลก 
แรงโน้มถ่วง 0.38 ของโลก
องค์ประกอบของบรรยากาศที่เบาบางมาก ไฮโดรเจน, ฮีเลียม, โซเเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม
อุณหภูมิ  -180°C ถึง 430°C
ไม่มีดวงจันทร์  ไม่มีวงแหวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น