วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดาวศุกร์ (Venus)

รู้จักดาวศุกร์



ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224.70 วัน โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน เนื่องจาก เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อมองจากโลก และสังเกตเห็นได้ง่าย แม้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ดาวดวงนี้ จะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากก็ตาม แต่ครั้งหนี่ง นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า ดาวศุกร์ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ 

ลักษณะของดาว



        ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์นั้นมีความหนาแน่นมาก ความกดอากาศบนพื้นผิวดาวศุกร์สูงกว่าความกดอากาศบนพื้นผิวโลก 90 เท่า หรือมีค่าเท่ากับความดันที่ใต้ทะเลลึก 1 กิโลเมตร  บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ และมีชั้นเมฆอยู่หลายชั้นที่ประกอบไปด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (กรดกำมะถัน) ซึ่งมีความหนาหลายกิโลเมตร ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวดาวศุกร์  ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 470°C  จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่าก็ตาม

ยานลำแรกที่สำรวจดาวศุกร์




ยานอวกาศลำแรกที่ถ่ายภาพเมฆดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศของสหรัฐอเมริกา ชื่อยานมารีเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ยานอวกาศลำแรกที่ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศเวเนรา 9 ของรัสเซีย ซึ่งลงสัมผัสพื้นผิวของดาวศุกร์เมื่อ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ต่อมามียานอวกาศไปสำรวจดาวศุกร์อีกหลายลำ ลำล่าสุดที่ถ่ายภาพโดยอาศัยระบบเรดาร์ คือยานแมกเจลแลน เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534



เราสามารถเห็นดาวศุกร์ได้หรือไม่?
เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ 45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า "ดาวประจำเมือง" และด้านทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า "ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน

ข้อมูลสำคัญ (แบบสรุป)

ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 108.21 ล้านกิโลเมตร
คาบวงโคจร 224.70 วัน
ความรีของวงโคจร 0.0068
ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 3.39°
แกนเอียง 177.3°
หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243.02 วัน (หมุนย้อนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น)
รัศมีของดาว 6,052 กิโลเมตร
มวล 0.815 ของโลก
ความหนาแน่น 0.95 ของโลก
แรงโน้มถ่วง 0.91 ของโลก
องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์
อุณหภูมิพื้นผิว  470°C
ไม่มีดวงจันทร์​ ไม่มีวงแหวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น